ทำความรู้จัก เครื่องอ่านลายนิ้วมือ


ในหลายๆ องค์กร โดยเฉพาะกับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักมีการเก็บข้อมูลการทำงานผ่านทางเครื่องอ่านลายนิ้วมือ หรือ FingerScan?แทนเครื่องตอกบัตร หรือลงชื่อการทำงานแบบเดิมๆ การใช้งานเพียงแค่ตั้งรหัสของพนักงานแต่ละคน และเก็บลายนิ้วมือเข้าไปในเครื่อง (สามารถเก็บได้มากกว่า 1 นิ้วมือ) เวลามาทำงานก็เพียงวางนิ้วมือที่เครื่องอ่านลายนิ้วมือ ก็จะทำให้เราสามารถควบคุมการทำงานของพนักงานได้แล้ว

ประโยชน์หลักๆ ของเครื่องอ่านลายนิ้วมือ

  • เก็บข้อมูลการมาทำงาน และใช้สำหรับการคำนวณเวลาทำงาน
  • ควบคุมการเข้าออกสถานที่สำคัญๆ

คุณสมบัติของเครื่องอ่านลายนิ้วมือ (ที่ควรมี)
Type of FingerScan

  • เก็บข้อมูลลายนิ้วมือ และเวลาในการใช้งาน
  • ความจุลายนิ้วมือ
  • ความจุในการเก็บข้อมูลการบันทึกเวลา (ตัวอย่างเช่น 50,000 ครั้ง 100,000 ครั้ง เป็นต้น)
  • จำนวนบันทึกลายนิ้วมือต่อคน เช่น ได้ทั้ง 5 หรือ 10 นิ้วเป็นต้น (บางคนอาจมีปัญหาลายนิ้วมือ)
  • รองรับการเชื่อมต่อได้หลายรูปแบบ เช่น Flash USB / TCP/IP / RS232
  • การเชื่อมต่อมากกว่าหนึ่งตัว (ในระบบเครือข่าย)
  • แปลงข้อมูลบันทึกเวลาเป็น Text File
  • มีแป้นพิมพ์ สามารถใช้ทดแทนกรณีมีปัญหา ตัวอ่านลายนิ้วมือ (แป้นพิมพ์ที่สำคัญมาก เพราะบางครั้งกดไม่นานตัวอักษรจาก และปุ่มมักยุบลงไป)
  • หลอดไฟ LED แสดงสัญญาณ และสถาะการใช้งาน
  • เสียงบอกขั้นตอนการทำงาน (บางรุ่นไม่มี)
  • สามารถกำหนดรหัสผ่าน
  • หัวอ่านเป็นแบบ Optical (คล้ายเม้าส์ Optical)
  • ความเร็วในการอ่านลายนิ้วมือ
  • มีแบตเตอรี่ในตัว เพื่อสำรองไฟ ขณะไฟดับ
  • ระบบประหยัดพลังงาน (ถ้ามีก็ยิ่งดี)

บางคุณสมบัติอาจจำเป็นสำหรับองค์กรขนาดกลางและขนาดใหญ่ เช่น ความจุในการเก็บข้อมูลการลงเวลา เป็นต้น ดังนั้น เราควรพิจารณาความเหมาะสมให้ดีกับองค์กรของเรา แต่อย่างไรก็ตาม บางครั้งการทำงานของแผนกบุคคล ที่ไม่ได้มีการทำงานในวันหยุด แต่พนักงานบางแผนกทำงาน (ตัวอย่างองค์กรประเภทนี้ ได้แก่ โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น)?อาจจำเป็นต้องการหน่วยความจำมากชึ้นด้วย?


Menu